19/04/2024

ขุนแผนพรายกุมาร รุ่นสากหัก ปี 2546 พิมพ์ใหญ่:01191

ขุนแผนพรายกุมาร รุ่นสากหัก ปี 2546 พิมพ์ใหญ่
ขุนแผนพรายกุมาร รุ่นสากหัก ปี 2546 พิมพ์ใหญ่
ขุนแผนพรายกุมาร รุ่นสากหัก ปี 2546 พิมพ์ใหญ่
ขุนแผนพรายกุมาร รุ่นสากหัก ปี 2546 พิมพ์ใหญ่
ขุนแผนพรายกุมาร รุ่นสากหัก ปี 2546 พิมพ์ใหญ่

รหัส : 01191

ราคา : 0.00

(รายการนี้ไม่มีแล้ว)

พระขุนแผนผงพรายกุมาร รุ่นสากหัก จัดสร้างปี 2546 จัดสร้างในนามมูลนิธิหลวงปู่ทิม อิสริโก โดยคุณชินพร สุขสถิตย์ เช่นกัน เพื่อมอบให้แก่ผู้ที่ร่วมทำบุญทอดกฐินสามัคคี ณ.วัดพงเสลี่ยง บ้านห้วยโป ต.แม่สิน อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย เมื่อวันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม 2546 เพื่อนำเงินที่ได้สมทบทุนสร้างศาลาอเนกประสงค์ ชื่อ “ศาลาศิษย์หลวงปู่ทิม ร่วมใจ”

สำหรับชื่อ รุ่นสากหัก นั้นมาจากการที่ขณะตำผงครกแรกเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2546 พอผงกำลังเข้าที่พร้อมจะนำมากดพิมพ์ได้สากหินที่กำลังใช้ตำผงนั้นเกิดหักกลางอย่างมหัศจรรย์ทันทีมีผู้เห็นกันหลายคน ผงพรายกุมารที่ใช้ทำพระขุนแผนรุ่นนี้ได้มาจากบรรดาศิษย์อาวุโสของหลวงปู่ทิม ซึ่งต่างเก็บไว้คนละเล็กคนละน้อยเพราะทุกคนรู้ดีว่าผงพรายกุมาร ของ หลวงปู่ทิม อาจารย์ของพวกตนนั้นเป็นผงที่หาผู้ทำให้ขลังและศักสิทธิ์จริง ๆ นั้นหายากมาก แต่หลวงปู่ทิมท่านก็ทำสำเร็จจนพระขุนแผนผงพรายของท่านโด่งดังไม่แพ้พระขุนแผนเก่า ๆ ที่ขุดออกมาจากกรุทั้งในด้านราคาและความศักสิทธิ์ พระขุนแผนสากหัก ถอดแบบจากเค้าโครงเดิมของพระขุนแผนรุ่นแรกของหลวงปู่ทิม แต่มีการแต่งพิมพ์เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความแตกต่าง และมีเอกลักษณ์ในตัวเอง โดยมีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก แบ่งตามวรรณะของสีเนื้อออกเป็น 3 สี คือ สีขาว สีแดง และสีดำ โดยพิมพ์ใหญ่สร้าง 5,556 องค์ พิมพ์เล็กสร้าง 6,996 องค์ โดยเฉพาะพิมพ์ใหญ่นั้นแบ่งออกเป็นสองแบบใหญ่คือแบบฝังตะกรุด และแบบไม่ฝังตะกรุด เฉพาะแบบฝังตะกรุดจะสามารถแบ่งแยกตามตัวตะกรุดออกได้ดังนี้

-พิมพ์ใหญ่ฝังตะกรุดทองคำ 96 องค์
-พิมพ์ใหญ่ฝังตะกรุดเงิน 256 องค์
-พิมพ์ใหญ่ฝังตะกรุดทองแดง 356 องค์

นอกนั้นจะฝังอย่างอื่นแทน เช่น พลอยเสก (ปกติ) พระขุนพลจิ๋ว (พิเศษ) เป็นต้น แต่ในส่วนของพิมพ์เล็กไม่ได้ฝังตะกรุดและพลอยเสก จึงทำให้การเล่นหาไม่สับสนครับ ในเรื่องการอธิษฐานจิตนั้นได้รับการปลุกเสกเดี่ยวโดยพระครูธรรมรังษี (หลวงปู่ธรรมรังษี ) วัดพระบาทเขาพนมดิน จ.สุรินทร์ แล้วยังได้นำพระชุดนี้ทั้งหมดในส่วนที่เหลือจากการแจกผู้ร่วมงานทอดกฐินในวันดังกล่าวแล้วเข้าพิธีพุทธาภิเษกในงานเททองหล่อพระกริ่งชินบัญชร มหาปราบ ที่วัดละหารไร่ จ.ระยอง เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2546 อีกวาระหนึ่ง เพื่อให้พระเกจิฯผู้ทรงคุณประจุพลังพุทธาคมให้เพิ่มขึ้นอีก โดยมีพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคม นั่งปรกปลุกเสก ทั้งสี่ทิศ ดังนี้

1.หลวงปู่ธรรมรังษี วัดพระบาทเขาพนมดิน จ.สุรินทร์
2.หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร จ.ฉะเชิงเทรา
3.หลวงพ่อแจ่ม วัดเขาสำเภาทอง จ.ระยอง
4.หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ จ.ระยอง

พระขุนแผนรุ่นนี้เป็นที่ได้รับความนิยมมากในบรรดานักสะสมประเภทผงพราย ราคาเริ่มขยับขึ้นสูง

องค์นี้เป็นสีแดงพิมพ์ใหญ่ สภาพคัดเก็บสวยมาก พิเศษตรงที่ด้านหลังมีผงพรายกุมารและผงพุทธคุณฝังอยู่เป็นก้อนไม่เหมือนใคร น่าบูชาสะสมมากครับ

Leave a Reply