28/03/2024

รูปหล่อหลวงปู่เทพโลกอุดร ปี 2537 เนื้อเงิน วัดพระธาตุจอมมอญ จ.แม่ฮ่องสอน:02072

รูปหล่อหลวงปู่เทพโลกอุดร ปี 2537 เนื้อเงิน วัดพระธาตุจอมมอญ จ.แม่ฮ่องสอน
รูปหล่อหลวงปู่เทพโลกอุดร ปี 2537 เนื้อเงิน วัดพระธาตุจอมมอญ จ.แม่ฮ่องสอน
รูปหล่อหลวงปู่เทพโลกอุดร ปี 2537 เนื้อเงิน วัดพระธาตุจอมมอญ จ.แม่ฮ่องสอน

รหัส : 02072

ราคา : 0.00

(รายการนี้ไม่มีแล้ว)

ประวัติของหลวงปู่เทพโลกอุดร
ตามหลักฐานบันทึกในหนังสือมหาวงค์ พงศาวดารลังกา (คำบรรยายของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ อดีตภัณฑารักษ์เอก กรมศิลปากร ) พ.ศ. ๓๐๓ และตามหลักฐานของวัดเพชรพลี (วัดพริบพรีเดิม บันทึกอักษรเทวนาคี ขุดค้นพบ ณ ซากศิลาวัดบัวคูบัว ต.คูบัว จ.ราชบุรี ) กล่าวว่า พระพุทธศาสนาได้เริ่มแพร่เข้าสู่แคว้นสุวรรณภูมิ ใน พ.ศ. ๒๓๕ ( ซึ่งระยะต่างกัน ๖๘ ปี พ.ศ. ๓๐๓-๒๓๕ ) พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงกระทำตติยสังคายนาพระไตรปิฎก คือ ทำการชำระพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งที่ ๓ ครั้รแล้วจึงอาราธนาพระโมคคลีบุตรติสสเถระ องค์อรหันต์เป็นประธานคัดเลือกบรรดาพระอรหันตเถระ ออกทำการเผยแพร่พระพุทธศาสนายังนานาประเทศ โดยแบ่งเป็น ๙ คณะ คณะที่ ๘ ไปยังสุวรรณภูมิประเทศ ( พม่า มอญ เขมร ลาว รามัญ ญวน ไปจรดแหลมมลายู หรือที่เรียกว่าอินโดจีน เป็นสุวรรณภูมิทั้งสิ้น )

คณะธรรมฑูตประกอบด้วย
๑. พระโสณเถระ
๒. พระอุตระเถระ
๓. พระฌานียะ
๔. พระภูริยะ
๕. พระมูนียะ

สามเณรอิสิจน์ สามเณรคุณะ สามเณรนิตตย เขมกะอุบาสก อนีฆาอุบาสก อดุลลยอำมาตย์ และคุณหญิงอดุลยา พราหมณ์และนางพราหมณี ผู้คนอีก ๓๘ คน ได้มาพักที่วัดช้างค่อม ( นครศรีธรรมราช ) เมื่อวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย พ.ศ. ๒๓๕ ออกบิณฑบาตวันขึ้น ๑๕ ค่ำ แล้วเทศนาพรหมชาลสูตร และได้วางวิธีอุปสมบทญัตติจถกรรมวาจา โดยใช้อุทกเขปเสมาหรือเสมาน้ำและได้วางเพศชีสยาม โดยถือแบบเหล่าพระสากิยานีซึ่งเป็นต้นของพระภิกษณี โดยบวชหรือบรรพชาไม่มีเรือน ( อาคารสมา อนคาริย ปพพชชา ) ได้วางวิธีสวดปาติโมกข์ หรืออุโบสถกรรม ปวารณากรรม

เมื่อพระเจ้าโลกละว้า (เจ้าผู้ครองแคว้น สุวรรณภูมิ ) รับสั่งให้มนขอมพิสณุขอมเฉย ขอมสอน ขอมเมือง สร้างวัดมหาธาตุ ท่านได้วางวิธีกำหนดนิมิตผูกขันธสีมา พ.ศ. ๒๓๘ เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ

ขณะอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ท่านได้สอนพระบวชใหม่ให้ท่องพระไตรปิฎกจบหลายองค์ แล้วจึงวางจึงวิธีสวด สาธยายโดยฝึกซ้อมให้คล่อง เมื่อคล่องแล้วจึงจะสัชฌากันจริง ๆ ท่านให้มนขอมปั้นพระพุทธรูปด้วยปูนขาวเป็นพระประธานในโรงพิธี เมื่อเรียบร้อยแล้วท่านวางวิธีกราบ สวดมนต์ ไหว้พระ เห็นดีแล้วจึงให้สร้างพระพุทธรูปประจำพระอุโบสถ จึงเป็นธรรมเนียมสืบต่อมาท่านได้วางวิธีกฐิน และธุดงค์ คือเที่ยวจารึกไปในเมืองต่าง ๆ

การสร้างพระพุทธรูปในสมัยดังกล่าวนี้ก็ล้วนเป็นสิ่งสมมติ พระพุทธรูปเป็นองค์สมมติ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์ก็เป็นเพียงสมมติสงฆ์ สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านใช้วงล้อเกวียนประดิษฐ์เป็นพระธรรมจักรแทนพระธรรม กับทีทิค ( มิ-คะ) คือสัตว์ประเภทกวาง ฟาน หรือเก้ง เป็นเครื่องหมายในสมัยสุวรรณภูมิ

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๙ พระโสณเถระกับพระเจ้าโลกละว้าราชา ได้ส่งพระภิกษุสยาม ๑๐ รูป มีพระญาณจรณะ (ทองดี) เป็นหัวหน้า พร้อมด้วยสามเณร ๓ รูปอุบาสก อุบาสิกา ได้เรียนและศึกษา ณ กรุงปาตลีบุตร แคว้นมคธ นับเป็นเวลา ๕ ปี ลุปี พ.ศ. ๒๔๕ พระเจ้าโลกละว้าสิ้นพระชนม์ ตะวันทับฟ้า ราชบุตรขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า ตะวันอธิราชเจ้า พระโสณเถระอยู่ ณ แดนสุวรรณภูมิวางรากฐานพระธรรมวินัยในพระบวรพระพุทธศาสนา เป็นระยะเวลา ๒๙ ปี และนิพพานในปี พ.ศ. ๒๖๔

ตามหลักฐานบันทึกนี้จะเห็นได้ว่า กล่าวเพียงพระโสณเถระ ไม่ได้กล่าวถึงพระอุตรเถระ เป็นปัญหาว่า บรมครูพระเทพโลกอุดรเป็นองค์ใดกันแน่ เพราะในสมัยปัจจุบันกล่าวถึงบรมครูพระเทพโลกอุดร ไม่มีใครรู้จักพระอุตรเถระ

เรื่องราวเกี่ยวกับบรมครูพระเทพโลกอุดรมีมาช้านานแล้ว เริ่มตั้งแต่ยุคสมัยสุวรรณภูมิ หริภุญไชย สุโขทัย อยุทยา และรัตนโกสินทร์ หลักฐานที่ปรากฏชัดเจนแต่ขาดการค้นคว้าอย่างจริงจัง รู้อยู่ในหมู่คนกลุ่มน้อย รู้ทางเจโตปริญาณบ้าง เช่น พระอริยคุณาธาร (ปุสโสเส็ง ) และหลวงปู่คำคะนิง ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ” บรมครูพระเทพโลกอุดร คือพระอุตรเถระ” ผู้ที่เคยได้พบท่านได้ถามท่านว่า ” บรมครูพระเทพโลกอุดรท่านคือพระอุตรเถระใช่ไหม” ท่านไม่ปฎิเสธ

ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ท่านมีอายุ ๒,๐๐๐ กว่าปีแล้วท่านอยู่ได้อย่างไรกัน จึงมีความเชื่อแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าท่านนิพพานไปนานแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าท่านยังไม่นิพพาน เพราะยังมีผู้พบเห็นท่านอยู่เสมอแม้กระทั่งทุกวันนี้

บรมครูพระเทพโลกอุดร เป็นพระภิกษุลี้ลับ เร้นลับ และมหัศจรรย์อเนกประการ ลี้ลับ เร้นลับไปหมดทุกอย่าง เริ่มตั้งแต่ชื่อของท่าน ที่อยู่อาศัยของท่าน และที่มาที่ไปของท่าน และที่มหัศจรรย์ก็คือ เรื่องราวของท่านทั้งหมด

บรมครูพระเทพโลกอุดรคือใคร เป็นคำถามที่หาคำตอบที่สมบูรณ์ยังไม่ได้ เพราะ

ท่านจะสอนลูกศิษย์เสมอว่า อดีต เป็นเรื่องที่ผ่านพ้นไปแล้ว ไม่ต้องนำมาคิด อนาคต เป็นเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ไม่ควรไปสนใจให้เสียเวลา ปัจจุบัน สำคัญที่สุดให้เร่งศึกษา เริ่งปฎิบัติ

เมื่อถามถึงชื่อท่าน ท่านก็จะไม่ตอบ แต่จะบอกว่าอย่ามัวไปเสียเวลากับชื่อ ให้เร่งปฎิบัติ เป็นการตอกย้ำว่า ช่วงเวลาของชีวิตนี้น้อยนักไม่เพียงพอแก่การปฎิบัติอยู่แล้วอย่ามัวไปเสียเวลากับการไม่ปฎิบัติอยู่เลย

ชื่อที่เรียกท่านอยู่ทุกวันนี้ จึงเป็นชื่อสมมุติที่ท่านวังหน้า หรือสมเด็จวังหน้ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (บุญมา) พระอนุชาในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ รัชการที่ ๑ แห่งปฐมบรมจักรรีวงศ์ เป็นผู้เรียกท่าน

บางท่านบอกว่า บรมครูพระเทพโลกอุดรคือพระมหาโพธิศรีอุดม ซึ่งชื่อนี้พระมหากัสสปะ เป็นผู้ตั้งให้ บิดาท่านเป็นชาวเนปาล มารดาท่านเป็นชาวทิเบต

บางท่านบอกว่า ท่านคือ ครูบาบุญทา จันทวังโส เกิดเมื่อเดือน ๗ เหนือปี พ.ศ. ๑๘๓๔ บิดาชื่อ คำฝั้น เป็นคนศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มารดาชื่อ คำขยาย เป็นคนจังหวัดลำพูน มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๒๐ อายุ ๘๖ ปี อัฐิของท่านเก็บไว้ที่พระธาตุ (เจดีย์) วัดสันป่ายางหลวง อ. เมือง จ. ลำพูน

บางท่านบอกว่าท่านคือ หลวงปู่คำแพง คำภาวนาถึงท่านใช้คำว่า ” โอทาตัง”

ทางท่านบอกว่าท่านคือ หลวงปู่เดินหน คำภาวนาถึงท่านใช้คำว่า “อิเกสาโร อกาวิติ นโมพุทธายะ” เป็นคน อ. เดิมบางนางบวช จ. สุพรรณบุรี บิดาเป็นคนจีน มารดาเป็นคนไทย ท่านได้มรณภาพไปแล้ว เมื่อ ๖๐ กว่าปีก่อน สังขารของท่านอยู่ที่ถ่ำละว้า จ. กาญจนบุรี ในท่านั่งสมาธิ

ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าท่านได้มรณภาพไปแล้ว เพราะไม่เชื่อว่าพระจะมีอายุยืนยาวหลายร้อยปี

แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สุดยอดแห่งพระภิกษุในโลกนี้ยังมรณภาพ

เคยมีลูกศิษย์ของท่านถามท่านว่า ท่านอายุเท่าไรแล้ว ท่านได้กรุณาบอกลูกศิษย์ว่า ไม่ได้จำ จำได้แต่ว่า เมื่อตอนสร้างประปรางค์ลพบุรีนั้น ท่านได้มายืนดูเขาสร้างอยู่ ประกอบกับเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงมีผู้เชื่อว่าท่านมรณภาพแล้ว มีการเชิญดวงวิญญาณท่านประทับทรง ซึ่งมีหลายสำนักทรงอยู่ มีทั้งทรงจริง ทรงไม่จริง เป็นเรื่องของศรัทธา ท่านผู้อ่านต้องพิสูจน์เอาเอง เห็นจริงแล้วจึงค่อยเชื่อ อันเป็นหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา

กาลมสูตร
๑. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตาม ๆ กันมา
๒. อย่าปลงเชื่อ ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
๓. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
๔. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
๕. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
๖. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
๗. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
๘. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฏีที่พินิจไว้แล้ว
๙. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
๑๐. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
พิสูจน์ให้รู้แจ้งเห็นจริงแล้วจึงเชื่อ
โอวาทหลวงปู่ใหญ่
การปฎิบัติธรรมทางด้านจิต จงเป็นผู้มีสติปัญญารู้เท่าทันความเคลื่อนไหวของจิตทุกลมหายใจเข้าออกและทุกอิริยบท เว้นเสียแต่หลับ เมื่อรู้ทันจิตแล้ว ต้องรู้จักรักษาจิต คุ้มครองจิต จงดูจิตเคลื่อไหวเหมือนเราดูลิเกหรือละคร เราอย่าเข้าไปเล่นลิเกหรือละครด้วย เราเป็นเพียงผู้นั่งดู อย่าหวั่นไหวไปตามจิต จงดูจิตพฤติการณ์ของจิตเฉย ๆ ด้วยอุเบกขา จิตไม่มีตัวตน แต่สามารถกลิ้งกลอกล้อหรือยั่วเย้าให้เราหวั่นไหวดีใจและเสียใจได้ ฉะนั้นต้องนึกเสมอว่าจิตไม่มีตัวตน อย่ากลัวตจิต อย่ากลัวอารมณ์ เราหรือสติสัมปชัญญะต้องเก่งกว่าจิต

ความนึกคิดอารมณ์ต่าง ๆ เป็นอาการของจิต ไม่ใช่ตัวจิต แต่เราเข้าใจว่าเป็นตัวจิตธรรมชาติคือผู้รู้อารมณ์ คิดปรุงแต่งแยกแยะไปตามเรื่องของมัน แต่แล้วมันต้องดับไปเข้าหลักเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป คือไม่เที่ยง ไม่จีรังยั่งยืนทนได้ยากเป็นทุกข์ และสลายไปไม่ใช่ตัวตน มันจะเกิดดับ ๆ อยู่ตามธรรมชาติ เมื่อเรารู้ความจริงของจิตเช่นนี้ เราก็จะสงบไม่วุ่นวาย เราในที่นี้หมายถึงสติปัญญา สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรม (สิ่งทั้งปวง ) เป็นอนัตตาคือไม่ใช่ตัวตน

นิมิตที่เกิดขึ้นขณะนั่งสมาธิมีอยู่ ๒ ประการ คือ ๑ . เกิดขึ้นเพราะเทพบันดาล คือเทวดาหรือพรหมแสดงภาพนิมิตและเสียงให้รู้เห็น ๒. นิมิตเกิดขึ้นเพราะอำนาจสมาธิเอง

นิมิตจะเป็นประเภทใดก็ตาม ขอให้ผู้เจริญกรรมฐานจงเป็นผู้ใช้สติปัญญาให้รู้เท่าทันนิมิตที่เกิดขึ้นนั้นด้วยปัญญา อย่าเพิ่งหลงเเชื่อทันทีจะเป็นความงมงาย ให้ปล่อยวางนิมิตนั้นไปเสียอย่าไปสนใจให้เอาจิตทำความจดจ่ออยู่เฉพาะจิต

เมื่อจิตสงบรวมตัว จิตถอนตัวออกมารับรู้นิมิตนั้นอีก หากปรากฎนิมิตอย่างนี้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ หลายครั้งแสดงว่านิมิตนั้นเป็นของจริงเชื่อถือได้ แต่อย่างไรก็ตามนิมิตที่มาปรากฏนี้อยู่ในขั้นโลกียสมาธิ นิมิตต่าง ๆ จึงเป็นความจริงน้อย แต่ไม่จริงเสียมาก จงมุ่งหน้าทำจิตให้สงบเป็นอัปนาสมาธิ อย่าสนใจนิมิต หากทำได้อย่างนี้ จิตจะสงบตั้งมั่น เข้าถึงระดับฌานจะเกิดผลคือสมาบัติสูงขึ้นตามลำดับ จิตจะมีพลังอำนาจอันมหาศาล ฤทธิ์เดชจะตามมาเองด้วยอำนาจของฌาน

ธรรมะบางข้อ ของหลวงปู่ใหญ่
จึงได้ธรรมะของท่าน สรุปย่อ ๆ บางส่วนได้ดังนี้
๑. ธรรมะของท่านต้องเกิดจากการปฎิบัติเท่านั้น
๒. ต้องมีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก
๓ อยากรู้ธรรมะหรือคำสอนของท่านให้ดูจิตตนเอง
๔. ให้รักผู้อื่นเหมือนที่รักตน
๕. ให้ทำตัวเหมือนน้ำ

– น้ำไปได้ทุกสถานที่ อยู่ในน้ำ ในอากาศ ในดิน
– น้ำอยู่ได้ทุกสภาวะ เป็นไอน้ำ เป็นน้ำ เป็นน้ำแข็ง
– น้ำให้ความชุ่มชื่น สดชื่น แก้กระหาย น้ำให้ชีวิต และทำลายชีวิต
– น้ำให้ความความเย็น ให้ความร้อน
– น้ำมีรูปร่างต่าง ๆ กันตามรูปร่างของภาชนะ
– น้ำใช้ล้างความสกปรกให้สะอาด ฯลฯ

นิพพานนัง ปรมัง สุขัง
” นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง นิพพานไม่มีทุกข์
ไปถึงพระนิพพานแล้วไม่มีคำว่าตาย
ไม่มีคำว่าเคลื่อน ไม่มีคำว่าไปไหน
อยู่ที่พระนิพพาน เป็นสุข
ไม่แก่ ไม่ป่วย ไม่ตาย”

รูปหล่อหลวงปู่เทพโลกอุดร สร้างปี พ.ศ.2537 เนื้อเงิน ที่ระลึกสร้างพระอุโบสถ วัดพระธาตุจอมมอญ จ.แม่ฮ่องสอน รูปหล่อรุ่นนี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ใครเคารพศรัทธาหลวงปู่เทพโลกอุดรเชิญบูชาได้เลย

Leave a Reply