29/03/2024

พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ปี 2541 พิมพ์ใหญ่ วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง:02240

พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ปี 2541 พิมพ์ใหญ่ วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง
พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ปี 2541 พิมพ์ใหญ่ วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง
พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ปี 2541 พิมพ์ใหญ่ วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง
พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ปี 2541 พิมพ์ใหญ่ วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง
พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ปี 2541 พิมพ์ใหญ่ วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง

รหัส : 02240

ราคา : 0.00

(รายการนี้ไม่มีแล้ว)

วัดไชโยวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท มหานิกาย ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง รหัสไปรษณีย์ 14140 เป็นสถานที่ที่ประดิษฐาน พระมหาพุทธพิมพ์ พระพุทธรูปปางสมาธิ ที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ประวัติวัดไชโยวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์โบราณ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ได้สร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่เป็นปูนขาวไม่ปิดทองไว้กลางแจ้ง ณ วัดแห่งนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้เสด็จมานมัสการและโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโย ในปี พ.ศ. 2430

ระหว่างการลงรากพระวิหารทำให้องค์หลวงพ่อโตพังลงมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร มีขนาดหน้าตักกว้าง 16.10 เมตร สูง 22.65 เมตร แล้วพระราชทานนามว่า “พระมหาพุทธพิมพ์” สร้างพระวิหารเป็นเรือนองค์พระพุทธรูป ความสูง 1 เส้นเศษ สร้างพระอุโบสถเป็นมุขลดยื่นออกมาข้างหน้า รวมทั้งศาลารายรอบพระวิหาร รวม 4 หลัง เสร็จสมบูรณ์เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2438 รวมเวลาที่ปฏิสังขรณ์นาน 8 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดไชโยขึ้นเป็นอารามหลวง

ตั้งแต่ระยะแรกของการปฏิสังขรณ์ พร้อมกับพระราชทานนามพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า “พระมหาพุทธพิมพ์” นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีมหกรรมเฉลิมฉลองพระอารามวัดไชโยเป็นงานใหญ่ 3 วัน 3 คืน เมื่อวันที่ 5-7 ตุลาคม พ.ศ. 2438 พระราชทานของช่วยงาน ได้แก่ ละคร 1 โรง หนัง 1 โรง ดอกไม้เพลิง 1 ต้น กัลปพฤกษ์ 2 ต้น ต่อมาปี พ.ศ. 2531 ได้เริ่มปิดทององค์พระมหาพุทธพิมพ์ โดยดำเนินการภายใต้การควบคุมดูแลของกรมศิลปากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี : http://th.wikipedia.org/
————————————————
พระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สร้างปี 2541 เป็นพระสมเด็จฐาน ๙ ชั้น ด้านหลังประดิษฐานประปรมาภิไภย ภปร. มีตรายางรูปสิงห์ประทับ สร้างจากมวลสารศักดิ์สิทธิ์และพระผงสมเด็จฯเก่า พิธีพุทธาภิเษกใหญ่โดยพระเกจิอาจารย์ในยุคนั้น บูชาพร้อมกล่องเดิมจากวัด พระดีมีคุณค่าน่าบูชาสะสมมากครับ

Leave a Reply