18/04/2024

พระสมเด็จ หลังยันต์ หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา จ.ปทุมธานี:02466

พระสมเด็จ หลังยันต์ หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา จ.ปทุมธานี
พระสมเด็จ หลังยันต์ หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา จ.ปทุมธานี
พระสมเด็จ หลังยันต์ หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา จ.ปทุมธานี
พระสมเด็จ หลังยันต์ หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา จ.ปทุมธานี
พระสมเด็จ หลังยันต์ หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา จ.ปทุมธานี

รหัส : 02466

ราคา : 9999.00

ประวัติหลวงพ่อเส็งโดยสังเขป
หลวงปู่เส็ง จันทฺรังสี เทพเจ้าชาวรามัญ วัดบางนา อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
ชาติภูมิหลวงปู่เส็งนั้น ท่านเป็นคนพื้นที่ในอำเภอสามโคก จ.ปทุมธานี บ้านท่านอยู่ทางใต้วัดติดคลองบางนา โยมพ่อชื่อจู เป็นชาวจีนล่องเรือสำเภาจากเมืองจีนมาอยู่ที่สามโคกใช้สกุล “แซ่บุญเซ็ง” โยมแม่ชื่อเข็มเป็นชาวรามัญ ท่านเกิดเมื่อ ปี พ.ศ. 2๔๔๔ มีพี่น้องทั้งหมด ๗ คน พี่น้องของท่านเสียชีวิตด้วยโรคฝีดาษด้วยกันหมด เหลือเพียงท่านเท่านั้น

อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๕ ณ. พัทสีมา วัดบางนา โดยมีท่านเจ้าคุณรามัญมุนี หรือพระครูนันทมุนี เจ้าอาวาสวัดบางหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูบวรธรรมกิจ หรือหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงปู่ทัด ลาหุโล เจ้าอาวาสวัดบางนา มีศักดิ์เป็นน้าชายของท่าน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “จันทฺรังสี”

หลังจากบวชแล้วท่านก็ได้ศึกษาวิชาอาคมต่างๆ จากหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ หลวงปู่ท่านมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาขอมเป็นพิเศษ เรื่องอักขระเลขยันต์ต่างๆ ท่านเก่งมากจนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๘๖ หลวงปู่ทัด เจ้าอาวาสวัดบางนามรณภาพลง หลวงปู่เส็งท่านได้รับแต่งตั้งให้รักษาการณ์เจ้าอาวาสไ ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ หลวงปู่สอบนักธรรมชั้นเอกได้ และปี พ.ศ.๒๔๘๙ ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางนาอย่างเป็นทางการ

ปฏิปทาและจริยวัตรของหลวงปู่ หลวงปู่ท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูง มีวัตรปฏิบัติปฏิปทาเคร่งครัด เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาต่อคนในละแวกนั้นเป็นอย่างมาก

หลวงปู่ท่านได้เริ่มสร้างพระเครื่อง และวัตถุมงคลขึ้นเป็นครั้งแรกประมาณ ปี พ.ศ.๒๕๑๐ โดยพระที่สร้างในยุคนั้นได้แก่พระสมเด็จ และเหรียญรูปเหมือน โดยหลวงปู่ท่านได้ทำผงพุทธคุณขึ้นเมื่อเป็นมวลสารศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาได้สร้างขึ้นอีกหลายรุ่น และวัตถุมงคลที่เป็นเครื่องรางของท่านที่ได้รับความนิยมมากได้แก่ หมูเขี้ยวตัน ในครั้งแรกหลวงปู่จัดสร้างหมูทองแดงในปี พ.ศ.2522 สาเหตุ การจัดทำหมูทองแดงของหลวงปู่เส็งนั้นสืบเนื่องมาจากในตำนานกล่าวกันว่า หมูทองแดงตามป่าเขาที่เป็นหมูเขี้ยวตันนั้นปืนยิงไม่เข้า หลวงปู่ก็เลยคิดทำวัตถุมงคลเป็นหมูทองแดงเขี้ยวตันขึ้นมา เล่ากันว่าระหว่างที่หลวงปู่ปลุกเสกหมูทองแดงร่วมกับพระที่นิมนต์มาเจริญพุทธมนต์อยู่ในโบสถ์นั้น มีชาวบ้านเห็นหมูวิ่งเข้าไปในโบสถ์ขณะที่พระสงฆ์กำลังปลุกเสกวัตถุมงคลอยู่ทั้งๆ ที่รอบโบสถ์ด้านนอกปิดกั้นอย่างดีไม่ให้ใครเข้าไปรบกวนสมาธิ ขณะที่พระสงฆ์กำลังเจริญพระพุทธมนต์และบริกรรมปลุกเสกวัตถุมงคล หลังเสร็จพิธีคนที่พบเห็นเข้าไปบอกหลวงปู่ ท่านก็เฉยๆ แถมหัวเราะอย่างอารมณ์ดี ท่านไม่ได้พูดอะไรแต่รับฟังเอาไว้
ครั้นเมื่อทำหมูทองแดงออกมาแจกกันเป็นที่ฮือฮาพอสมควร หมูทองแดงที่สร้างนั้นเป็นเนื้อทองแดงผสมโลหะ มีหมูทองแดงตัวใหญ่และเล็ก ข้างลำตัวซ้ายมีอักษรเขียนว่า “วัดบางนา ปทุมธานี ๒๕๒๒” ข้างลำตัวด้านขวาเป็นอักขระขอมมียันต์ที่โคนขาทั้ง ๔ ลักษณะเป็นหมูป่าเขี้ยวตัน และในปี ๒๕๒๔ หลวงปู่เส็งได้จัดสร้าง ทำหมู ๗ หัวขึ้นมา เป็นลักษณะหมูป่าเขี้ยวตัน คู้ขาหมอบที่เรียกว่า ๗ หัวนั้น หมายถึงหัวของปลัดขิกที่ทำไว้ตามลำตัวมี ๗ แห่ง คือที่หัว หาง ที่เพศ และที่ปลายเท้าทั้งสี่ข้าง เป็นเนื้อทองแดงผสมโลหะ ข้างลำตัวด้านซ้ายระบุปี พ.ศ.ที่จัดสร้างคือปี ๒๕๒๔ นอกจากนี้หลวงปู่เส็งได้ทำหมูจัมโบ้ ขนาดใหญ่ออกมาอีกรุ่นหนึ่ง เป็นหมูทองแดงรุ่นแรกทำออกมาแค่ ๒,๕๐๐ ตัวเท่านั้น พุทธคุณไปในทางแคล้วคลาดและค้าขาย

หลังจากทำหมูทองแดงออกมาหลวงปู่ก็จัดทำครุฑทองแดง ซึ่งครุฑเป็นสัตว์ที่มีอำนาจจัดทำพิธีพุทธาภิเษกในโบสถ์มีพระอาจารย์มาร่วมบริกรรมพุทธคุณอีก ๑๐ รูป ครุฑทองแดงด้านหลังเขียนว่า “หลวงปู่เส็ง วัดบางนา ปทุมธานี ๒๕๒๒” สลับกับอักขระขอม ประสบการณ์มีผู้นำติดตัวไปแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุทางรถและทางเรือ อีกทั้งยังป้องกันภัย จากงูเงี้ยวเขี้ยวขอดีนัก ต่อมาหลวงปู่จัดสร้างรูปเหมือนหนุมาน เหตุผลที่จัดทำนั้นท่านถือว่าหนุมานเป็นลิงประจำปีวอกและด้วยหนุมานเองก็เป็นศิษย์ของพระนารายณ์ มีอานุภาพฤทธิ์เดชมากมาย ที่จัดทำไว้มีเนื้อกะไหล่เงินและทองแดง ไม่ระบุปีจัดสร้าง จาก หมู ครุฑ หนุมาน ต่อมาท่านก็สร้างพญาเต่าเลือนเนื้อทองแดงผสมโลหะ แล้วจัดสร้างหงส์ทอง หงส์เงิน อีก ๑ ชุด เนื้อกะไหล่ทองและกะไหล่เงิน ทำเพื่อเป็นที่ระลึกว่าวัดบางนานั้นเป็นวัดที่ชาวรามัญสร้างขึ้นมา
นอกจากวัตถุมงคลรูปแปลกๆ แล้ว หลวงปู่ยังสร้างพระกริ่งรูปเหมือนท่าน มีทั้งแบบหลังตรงและหลังค่อม เนื้อทองแดงผสม สร้างพระปิดตาเนื้อทองเหลืองผสม สร้างเหรียญรูปไข่ รุ่นขี่วัวเนื้อทองแดงผสม สร้างเหรียญจอบรูปหลวงปู่มีทั้งจอบเล็กและจอบใหญ่ สร้างเหรียญหยดน้ำเนื้อทองแดงผสม สร้างรูปหล่อเนื้อผงปิดทอง ที่กล่าวมานี้เป็นวัตถุมงคลรุ่นเก่าๆ ที่หลวงปู่สร้างขึ้นมา ส่วนรุ่นใหม่ๆ ก็มีหลายสิบแบบ มีทั้งนางกวักพระผงพิมพ์สมเด็จ พระผงปิดตา เรียกว่าการจัดทำวัตถุมงคลของหลวงปู่เส็งนั้นมากมายจริงๆ ถ้าหากวัตถุ มงคลใดไม่ระบุ พ.ศ. เอาไว้ แทบจะไม่ทราบกันเลยว่าหลวงปู่จัดสร้างในพ.ศ. อะไร เพราะไม่มีการบันทึกเอาไว้และก็ทำออกมามากแบบ สำหรับเงินรายได้ที่ มีผู้นำมาบริจาค หรือเช่าวัตถุมงคลนั้น หลวงปู่นำเงินไปสร้างวัดวังหิน อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งท่านก็ทำนุบำรุงหมู่กุฏิเสนาสนะวัดบางนาที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น

สาเหตุที่หลวงปู่ไปสร้างวัดวังหินอีกแห่งหนึ่งนั้น ก็เนื่องจากท่านเห็นว่าสมัยนั้นชาวบ้านยากจนมาก ถิ่นที่อยู่ก็ทุรกันดารเป็นแหล่งหลบซ่อนของเหล่าเสือปล้น หลวงปู่เกรงว่าชาวบ้านและลูกหลานจะมีนิสัยดุร้ายกันไปหมด จึงไปสร้างวัดให้เพื่อบรรเทาจิตใจให้ร่มเย็นลงบ้าง เพื่อให้ธรรมะได้เข้าถึงจิตใจลูกหลานและผู้ที่คิดกลับตัว กลับใจหันมาบวชเรียนทำให้ผู้คนมีศีลธรรมขึ้น พอท่านสร้างวัดวังหินเสร็จ วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๑ หลวงปู่เส็งผู้ที่เป็นประดุจเทพเจ้าของชาวรามัญย่านวัดบางนา ก็ถึงแก่มรณภาพลงรวมอายุได้ ๘๗ ปี ท่านสิ้นลมอย่างสงบที่โรงพยาบาลคุ้มเกล้า ตึกคุ้มเกล้า

ปัจจุบันทางวัดยังได้เก็บสังขารของท่านไว้ในโลงแก้วเพื่อให้ ให้ศิษยานุศิษย์ได้ไปกราบไหว้สักการะบูชา และขอพร

พระสมเด็จหูบายศรี อกร่อง ฐาน ๗ ชั้น หลังยันต์เป็นพระสมเด็จของหลวงพ่ออีกรุ่นหนึ่ง ที่หลวงพ่อได้ปลุกเสกไว้

Leave a Reply